วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รวมภาพโครงการเก็บขยะสานมิตรภาพ

















 จากที่คณะจิตอาสาได้ลงทำกิจกรรมโครงการเก็บขยะสานมิตรภาพ ได้มีนักท่องเที่ยวบางส่วน ให้ความร่วมมือ และให้ความสนใจในกิจกรรมนี้ มากเท่าที่ควร

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อม ปลูกฝังในจิตใจ

“การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”
ความหมายสิ่งแวดล้อม
รูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏสิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
·         สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร
·
      
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้
กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
·         ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ
·         หาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา
·         ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขยะทำลายสิ่งแวดล้อม เราต้องกำจัดให้ถูกทาง


คุณเคยคิดไหมหากเราเอาสิ่งของที่เราจะทิ้งตามถนน  ซึ่งมันจะทำให้สิ่งแวดล้อมต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนั้นเรามาร่วมกันนำสิ่งเหลือใช้มาสร้างสรรค์ผลงานกันดีกว่าค่ะ 


อุปกรณ์
เศษกางเกงยีนส์, ขวดพลาสติก, กรรไกร
วิธีทำ
  1. นำเศษผ้าจากเศษผ้ากางเกงยีนส์
  2. นำขวดพลาสติกขนาดเส้นรอบวง ประมาณข้อมือ ใช้กรรไกรตัดให้มีขนาดพอดีที่ต้องการใช้
  3. นำผ้ายีนส์ที่ตัดไว้ มาตกแต่งประดับให้สวยงาม นำไปหุ้มรอบพลาสติกที่เตรียมไว้
  4. ตกแต่ง เก็บรายละเอียดที่เหลือ
ขอขอบคุณเนื้อหาจากเว๊ปไซด์

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปลูกป่าวันละนิดจิตแจ่มใส

วันนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความสนใจจากผู้คนมากที่สุดคือ  ปัญหาโลกร้อน หรือสภาวะเรือนกระจก  ซึ่งวิธีการแก้ปัญหา หรือลดความรุนแรงของปัญหานี้ได้ดีที่สุดก็คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือการปลูกต้นไม้เพิ่มนั่นเอง

เป็นความรู้ตั้งแต่สมัยมัธยมว่า ต้นไม้ช่วยลดโลกร้อนด้วยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกเข้าไปเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง โดยตลอดอายุขัยของไม้ยืนต้น 1 ต้น จะสามารถเก็บกักคาร์บอนได้เฉลี่ย 1-1.7 ตันคาร์บอน และยังสามารถดูดซับก๊าซอื่นๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมได้อีก เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซโอโซนเป็นต้น

นอกจากนี้ต้นไม้ 1 ต้นยังสามารถดักจับอนุภาคมลพิษบางชนิดได้ เช่น ฝุ่น ควัน ไอพิษต่างๆ ได้ถึง 1.4 กิโลกรัม/ปี

ต้นไม้ 1 ต้น จะปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนที่คนและสัตว์จำเป็นต้องใช้ในการหายใจออกมา ได้ถึง 200,000 – 250,000  ลิตรต่อปี ซึ่งสามารถรองรับความต้องการก๊าซออกซิเจนของมนุษย์ได้ถึง 2 คนต่อปี  (ความต้องการก๊าซออกซิเจนของคน = 130,000 ลิตร / คน / ปี)

แต่นอกจากประโยชน์ในการช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศแล้ว ต้นไม้ยัง เป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด อาทิ ไลเคน มอส  เฟิร์น ไม้เถา และพืชอิงอาศัย สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่น มด  แมลง แมงมุม และสัตว์มีกระดูกสันหลังเช่น นก กิ้งก่า จิ้งจก งู กระรอก

ดินที่ร่วนซุย และอุดมสมบูรณ์ใต้ต้นไม้สามารถอุ้มน้ำได้ถึง 50% ในดินที่ร่วนซุยยังเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด เช่น ไส้เดือนดิน กิ้งกือ ตะขาบ กิ้งก่า กบเขียด หนู มดและแมลงต่างๆ

ต้นไม้ยังสามารถป้องกันแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ น้ำที่ระเหยจากการคายน้ำที่ใบใบยังช่วยดูดความร้อนจากบรรยากาศ ทำให้อุณหภูมิบริเวณนั้นลดลงได้ถึง 3-5 องศาเซลเซียส หากปลูกต้นไม้ไว้บริเวณบ้านจะช่วยลดอุณหภูมิรอบๆ บ้านได้ถึง 2-4 องศาเซลเซียส และการปลูกต้นไม้ในรั้วบ้านยังเป็นการปรับปรุงทัศนียภาพ ตกแต่งบ้านให้สวยงามร่มรื่น

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประโยชน์ที่จะได้จากการปลูกต้นไม้เพียง 1 ต้น หากปลูกรวมกันหลายๆ ต้น เป็นสวน เป็นป่า เกิดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่ เป็นระบบนิเวศ จะก่อเกิดประโยชน์ต่างๆ อีกมากมายมหาศาลให้แก่มวลมนุษย์ ธรรมชาติ และโลกของเรา
feb_04_02_02

การลดโลกร้อน ตอนหนึ่ง


80 วิธีลดโลกร้อน (ตอนที่ 1)

       
   ประชาชนคนหนึ่งสามารถลดโลกร้อนด้วยการดำเนินวิถีชีวิตแบบพอเพียง โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในบ้านเรือนและอาคารสำนักงาน  ด้วยการปรับ  เปลี่ยนวิธีการใช้พลังงานไฟฟ้าน้ำมันเชื้อเพลิงรวมทั้งหาวิธีอื่นๆ  ที่จะช่วยให้โลกร้อนน้อยลงได้ด้วยตัวเอง
           1. ลดการใช้พลังงานในบ้าน  ด้วยการปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ  เมื่อไม่ได้ใช้งาน  จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับ  1,000  ปอนด์ต่อปี

           2. ลดการสูญเสียพลังงานในโหมดสแตนด์บาย เครื่องเสียงระบบไฮ-ไฟ โทรทัศน์ เครื่องบันทึกวิดีโอ  คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์พ่วงต่างๆ  ที่ติดมาด้วย จะยังคงมีการใช้ไฟฟ้าแม้ยังอยู่ในโหมด สแตนด์บาย ประหยัดไฟฟ้าและค่าไฟด้วยการดึงปลั๊กออก  หรือใช้ปลั๊กเสียบพ่วงที่ตัดไฟด้วยตัวเอง

           3. เปลี่ยนหลอดไฟ เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบขดที่เรียกว่า compact fluorescent (CFL) แม้อาจจะมีราคาแพงกว่าหลอดแบบเดิม 3-5 เท่าแต่จะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟแบบเดิม และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลายปีมาก แต่เมื่อใช้งานหมดอายุแล้วจำเป็นต้องแยกทิ้งหลอดไฟในถังรีไซเคิลเฉพาะ เพราะตัวหลอดยังมีปรอทเคลือบอยู่ราวๆ 5 มิลลิกรัม

           4. เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่า และประหยัดกว่าหลอดปกติ 40% สามารถหาซื้อหลอดไฟ LED ที่ใช้สำหรับโคมไฟตั้งโต๊ะและตั้งพื้นได้ด้วย จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้มีแสงสว่างส่องทาง เช่น ริมถนนหน้าบ้าน การเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้ จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 150  ปอนด์ต่อปี

           5. ช่วยกันออกความเห็นหรือรณรงค์ ให้รัฐบาลพิจารณาข้อดีข้อเสียของการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนกับ    ภาคการผลิต  ตามอัตราการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบต่างๆ หรือการใช้ก๊าซโซลีนเป็นรูปแบบการใช้ภาษีทางตรงที่เชื่อว่า หากโรงงานต้องจ่ายค่าภาษีแพงขึ้นก็จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล   ในกระบวนการผลิตลง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อย CO2  ลงได้ประมาณ  5 %

           6. ไปร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool นัดเพื่อนร่วมงานที่มีบ้านอาศัยใกล้ๆ  นั่งรถยนต์ไปทำงานด้วยกัน ช่วยประหยัดน้ำมันและยังเป็นการลดจำนวนรถติดบนถนน ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อมด้วย

           7. ขับรถยนต์ส่วนตัวให้น้อยลง  ด้วยการปั่นจักรยานใช้รถโดยสารประจำทาง  หรือใช้การเดินแทนเมื่อต้องการไปทำกิจกรรมหรือธุระใกล้ๆ บ้าน  การขับรถยนต์น้อยลงหมายถึงการใช้น้ำมันลดลง  และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์  เพราะน้ำมันทุกๆ แกลลอนที่ประหยัดได้  จะลดคาร์บอนไดออกไซด์  20  ปอนด์

           8. จัดเส้นทางรถรับส่งพนักงาน  ถ้าในหน่วยงานมีพนักงานจำนวนมากอาศัยอยู่ในเส้นทางใกล้ๆ กัน ควรมีสวัสดิการจัดหารถรับส่งพนักงานตามเส้นทางสำคัญๆ เป็น Car Pool ระดับองค์กร

           9. เปิดหน้าต่างรับลมแทนเปิดเครื่องปรับอากาศ  ลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ไฟฟ้า เพื่อเปิดเครื่องปรับอากาศ ด้วยการเปิดหน้าต่างบ้านรับลมบ้าง โดยเฉพาะในหน้าหนาวหรือหน้าฝน      ที่อากาศภายนอกเย็นกว่าฤดูอื่นๆ กลัวยุงและแมลงก็ติดมุ้งลวดที่หน้าต่างเสียเลยหลายครั้งที่เรา      จะพบว่าโรงแรมและบ้านพักหลายแห่งที่อยู่ติดทะเลมีห้องพักที่ใช้พัดลมกับห้องพักมีเครื่องปรับอากาศ ให้เลือก  เลือกพักห้องพัดลมจะดีกว่า  ได้นอนฟังเสียงคลื่นพร้อมกับใช้ไฟฟ้าน้อยลง

           10. มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม  ครั้งต่อไปเมื่อจะซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ มองหาป้ายสัญลักษณ์ เช่น ป้ายฉลากเขียวประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์  เพราะการจะได้ใบรับรองนั้นจะต้องมีการประเมินสินค้าตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุดิบ

           11. ไปตลาดสดแทนซุปเปอร์มาเก็ตบ้าง ซื้อผักผลไม้ หมู ไก่ ปลา ในตลาดสดใกล้บ้านแทนการช้อปปิ้ง      ในซุปเปอร์มาเก็ตบ้าง  ที่อาหารสดทุกอย่างมีการหีบห่อด้วยพลาสติกและโฟมทำให้เกิดขยะจำนวนมากลองหิ้วตระกร้าหรือถุงผ้าไปจ่ายตลาดดูบ้าง

           12. เลือกซื้อเลือกใช้  เมื่อต้องซื้อรถยนต์ใช้ในบ้านหรือรถยนต์ประจำสำนักงานก็หันมาเลือกซื้อรถประหยัดพลังงาน  รวมทั้งเลือกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟ  ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน

           13. เลือกซื้อรถยนต์ที่มีขนาดตามความจำเป็น  โดยพิจารณาจากขนาดครอบครัวและประโยชน์การใช้งาน     ได้ขนาดแล้วก็พิจารณารุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเพื่อเปรียบเทียบราคา อาจลองใช้การจัดอันดับรถเพื่อสิ่งแวดล้อม

           14. ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องเลือก รถโฟว์วีลขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อกินน้ำมันมาก ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าเลือกซื้อใช้   ตะแกรงขนสัมภาระบนหลังคารถ ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพราะเป็นการเพิ่มน้ำหนักรถให้เปลืองน้ำมัน ยกเว้นจะเลือกแบบที่ถอดเข้าออกได้เผื่อจำเป็นต้องใช้งาน

           15. ขับรถอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะทางไกลการขับรถ ด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยลดการใช้น้ำมันลงได้ 20 % หรือคิดเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ 1 ตันต่อรถยนต์แต่ละคันที่ ใช้งานราว  30,000  กิโลเมตรต่อปี

           16. ขับรถเร็วเที่ยวไปลดคาร์บอนไดออกไซด์ไปพร้อมกัน  แม้จะอยู่ในช่วงลาพักร้อนไปเที่ยวต่างประเทศ   เลือกเช่ารถรุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้เอธานอลหรือน้ำมันเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ ด้วย ลองสอบถามบริษัทรถเช่าเมื่อเดินทางไปถึง

           17. เลือกใช้บริการโรงแรมที่มีสัญลักษณ์สิ่งแวดล้อม  ปัจจุบันโรงแรมหลายแห่งมีบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น มีมาตรการประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงาน และมีระบบจัดการของเสีย มองหาป้ายสัญลักษณ์ เช่น โรงแรมใบไม้สีเขียว มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพ

           18. เช็คลมยาง  การขับรถที่ลมยางอ่อนอาจทำให้เปลืองน้ำมันได้ถึง  3 %

           19. เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพ  เช่น  ไบโอดีเซล  เอธานอลให้มากขึ้น

           20. โล๊ะทิ้งตู้เย็นรุ่นเก่า  ตู้เย็นที่ผลิตเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว  ใช้ไฟฟ้ามากเป็น 2 เท่าของตู้เย็นสมัยใหม่ที่มีคุณภาพสูง  ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟลงได้มาก และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์  100  กิโลกรัมต่อปี

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมระหว่างนักเรียนและผู้ให้ความร่วมมือ













โครงการ
การเก็บขยะสานมิตรภาพ


ออกเดินทางจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี                                                         8.30
ถึงที่หมาย(หัวหิน)                                                                                                      9.30
สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว                                                                                10.00  -  10.30
นำบทสัมภาษณ์มาเรียบเรียง                                                                       10.45  -  12.20
รับประทานอาหารกลางวัน                                                                        12.25  -  12.45
เริ่มเก็บภาพกิจกรรม(เก็บขยะ)                                                                   12.50  -  13.00 

                                                                                             
 จากภาพข้างต้นข้าพเจ้าและเพื่อนๆได้ไปทำกิจกรรมที่หาดปรึกเตียน    ข้าพเจ้าได้ศึกษาข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง  ข้าพเจ้าจึงอยากขอบคุณเป็นอย่างมาก กับการที่พวกท่านให้ความร่วมมือกับข้าพเจ้าและนักเรียนในกลุ่ม  ทั้งนี้  ที่ข้าพเจ้าและเพื่อนได้ทำไป มิได้ต้องการสิ่งใด แต่ข้าพเจ้าต้องการทำให้เห็นว่า โลกต้องการคน ทุกคนมาช่วยกันทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น 

ขอบพระคุณมากค่ะ

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การนำผักตบชวาไปใช้ประโยชน์

การนำผักตบชวาไปใช้ประโยชน์

ถิ่นกำเนิด ในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ในทวีปอเมริกาใต้ มีดอก สีม่วงอ่อน คล้ายช่อดอกกล้วยไม้ และแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในแหล่งน้ำทั่วไป

ปัญหาในแหล่งน้ำ ผักตบชวาได้ เข้ามาแพร่ระบาดในแหล่งน้ำจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อแม่น้ำ คูคลอง และระบบนิเวศน์ในประเทศไทย ผักตบชวามีการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ใน 1เดือน ผักตบชวา 1 ต้นอาจขยายพันธุ์ได้มากถึง 1,000 ต้น และถึงแม้น้ำจะแห้งจนต้นตาย แต่เมล็ดของผักตบชวาก็ยังมีชีวิตต่อไปได้นานถึง 15 ปี และทันทีที่เมล็ดได้รับน้ำที่เพียงพอ มันก็จะแตกหน่อเป็นต้นใหม่ต่อไป จนกลายเป็นปัญหาทางน้ำ เป็นปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำและต่อสภาวะแวดล้อม ซึ่งทวีความรุนแรงจนเป็นปัญหาระดับประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องเสียงบในการกำจัดผักตบชวา ซึ่งหน่วยงานและส่วนราชการและ อปท. ต่างต้องใช้เวลาและงบประมาณในการกำจัด ไม่ใช่น้อย ในการกำจัดผักตบชวา ตามแหล่งน้ำต่างๆ แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดให้หมดสิ้นไปได้

ปัญหาการสาธารณสุข เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำซึ่งบางชนิดเป็นพาหะนำโรค เช่น หอยไบธีเนียที่เป็นพาหะนำโรคพยาธิใบไม้ในตับ เป็นที่อาศัยของลูกน้ำของยุงนำโรคเท้าช้าง เป็นที่อาศัยวางไข่ของยุงอื่นๆ ทำให้การใช้ยากำจัดในการกำจัดหอย เป็นไปได้โดยยากและสิ้นเปลืองมาก
- เป็นที่อาศัยสัตว์ร้าย เช่น งูพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อราษฎร เมื่อแพผักตบชวาลอยไปติดเรือนแพ หรือ ท่าน้ำ หรือในการพัฒนาแหล่งน้ำโดยการใช้แรกงานดึงขึ้นจากน้ำ นอกจากนั้น หนูที่อาศัยอยู่บนแพ ผักตบชวา ก็อาจแพร่เชื้อโรคกาฬโรคได้

การนำมาใช้ประโยชน์ การใช้ประโยชน์จากผักตบชวา มีวิธีการต่างๆ เช่น

1. การทำสิ่งประดิษฐ์ ใช้ทำเป็นของใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋าถือ เปลญวน เครื่องจักสาน
นำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับงานหัตถกรรม เช่น รองเท้าแตะ ตระกร้าใส่เสื้อผ้า ถาดรอง
ผลไม้ ถาดรองแก้วน้ำ กล่องใส่กระดาษทิชชู ฯลฯ

2. ด้านปศุสัตว์ ใช้เป็นอาหารสัตว์ ใบผักตบชวาใช้นำมา เลี้ยงสุกร เลี้ยงไก่ เนื่องจากมีคุณค่าทางสารอาหาร  พบว่าใบผักตบชวาเมื่อนำมาตากแห้งมีโปรตีนประมาณร้อยละ 14-20 ไขมันร้อยละ 1-2.5 กากหรือเยื่อใยประมาณร้อยละ17-19 คุณค่าทาง สารอาหารจะผันแปรตามความอ่อนแก่ของใบผักตบชวาใบอ่อนจะมี คุณค่าทางอาหารสูงกว่าใบแก่ และขึ้นอยู่กับสัดส่วนของก้านและใบ โดยทั่วไปส่วนของใบจะมีคุณค่า
ทางอาหารสูงกว่าก้านใบ

3. ด้านการเกษตร นำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก สำหรับการปลูกพวกพืชผักอื่นๆ คลุมต้นไม้ที่ปลูกเอาไว้ให้เกิดความชุ่มชื้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผักตบชวามีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดี ทำเป็นวัสดุปรับปรุงดิน ใช้ในการเพาะเห็ดโดยนำผักตบชวาขึ้นมาจากน้ำปล่อยทิ้งเอาไว้ประมาณชั่วโมงเศษๆ ใช้มีดสับเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 5-10 ซม. ทั้งส่วนราก ลำต้นและใบ แล้วจึงนำไปเพาะเห็ดฟางได้เหมือนกับการเพาะโดยใช้ฟางข้าว

4. ด้านอาหาร ดอกอ่อนและก้าน ใบอ่อน กินเป็นผักลวกจิ้มน้ำพริกหรือทำแกงส้ม

5. ด้านสมุนไพร ใช้แก้พิษภายในร่างกาย และขับลม ใช้ทาหรือพอกแก้แผลอักเสบ

6. ด้านการบำบัดน้ำเสีย ใช้ผักตบชวากรองน้ำเสีย เพราะผักตบชวามีคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นตัวกรอง ซึ่งเรียกว่า เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ คือ การนำผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชที่มีอยู่มาก มาทำหน้าที่ดูดซับความโสโครก และสารพิษจากแหล่งน้ำเน่าเสีย และในเวลาเดียวกัน ก็ต้องหมั่นนำผักตบชวาออกจากบึงทุกๆ 10 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้ผักตบชวามี
การเจริญพันธุ์จนบดบังแสงแดดที่จะส่องลงไปในบึง สถานที่แรกในประเทศไทยที่ใช้
การบำบัดด้วยวิธีนี้คือ "บึงมักกะสัน" ซึ่งเป็นโครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้หลักการบำบัดน้ำเสียตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา

7. ด้านพลังงาน โดยใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยใช้ผักตบชวาเป็นตัวเชื่อมประสานในการทำ
แท่งเชื้อเพลิงจากฟางข้าวและแกลบ

เนื้อหาจาก
http://www.reo06.net/home/images/upload/file/report/pranom250609.pdf