วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การตัดไม้ทำลายป่า

สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย
1.  การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
    ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้  เจ้าของโรงเลื่อย  เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้  ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป  ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย  ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร  ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด  ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น  เช่น  ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม  เป็นต้น
2.  การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน
    เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น  ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้  แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย  นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป
3.  การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก
     เช่น  มันสำปะหลัง  ปอ  เป็นต้น  โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร
4.  การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่
    ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา  ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
5.  การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ
    เช่น  เขื่อน  อ่างเก็บน้ำ  เส้นทางคมนาคม  การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์  ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย  เช่น  การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี  ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่  ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง
6.  ไฟไหม้ป่า
    มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง  ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด  ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ  จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวนมาก
7.  การทำเหมืองแร่
แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่  มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง  เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก  เพื่อสร้างถนนหนทาง  การระเบิดหน้าดิน  เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ  ส่งผลถึงการทำลายป่า

เนื้อหาจากเว๊บไซด์

ผลกระทบจากการทำลายป่าไม้
จากการที่ปริมาณป่าไม้ลดลงย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพ และมีผลต่อปัจจัยทางชีวภาพ มีผลกระทบต่อ สภาพดิน น้ำ อากาศ สัตว์ป่า สิ่งแวดล้อมอื่นๆ เพราะทั้ง ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จะมีความสัมพันธ์กันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ในระบบนิเวศ ก่อให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติ การทำลายป่าจึงก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้
1. เกิดการชะล้างพังทลายของดิน

ป่าที่ถูกทำลายจะทำให้ไม่มีต้นไม้ วัชพืช หญ้าปกคลุมดิน เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะกัดเซาะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ไหลไปกับกระแสน้ำ


2. เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน
บริเวณป่าที่ถูกทำลายจะไม่มีต้นไม้ วัชพืช และหญ้าที่ปกคลุมหน้าดินช่วยดูดซับน้ำฝน ไว้ ทำให้น้ำไหลบ่าจากที่สูงอย่างรุนแรง และมีปริมาณมากทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ตอนล่างอย่างฉับพลัน
3. เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
การทำลายป่าไม้ ต้นน้ำลำธารทำให้ป่าไม้ถูกตัด แยกออกเป็นส่วนๆ เกิดการระเหยของน้ำจากผิว ดินสูง แต่การซึม ผ่านผิวดินต่ำ ดินดูดซับและเก็บ น้ำไว้ได้น้อย ส่งผลให้น้ำไหลลงสู่ลำธารน้อยเกิด ความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
4. เกิดปัญหาโลกร้อนขึ้น
เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งของการหมุนเวียนสาร ระหว่างออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและสารอื่นๆ ในระบบนิเวศที่ สำคัญ การทำลายป่ามีส่วนทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูง
5. คุณภาพของน้ำเสื่อมลง
เมื่อฝนตกในบริเวณป่าไม้ที่ถูกทำลายก็จะพัดพาเอาดินโคลน ตะกอนลงสู่ แหล่งน้ำทำให้น้ำขุ่นและเกิดการตื้นเขินส่งผล ให้คุณภาพน้ำทั้งทางด้าน กายภาพ ชีวภาพ และเคมีด้อยลง ไม่สามารถใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค ได้
6. พืชและสัตว์ป่ามีจำนวนและชนิดลดลง
ป่าไม้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ พืชและสัตว์ป่า การตัดไม้ทำลายป่าเป็น การทำลายแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้พืชและสัตว์ป่าหลายชนิดมีปริมาณ ลดลงจนเกือบสูญพันธ์

เนื้อหาจากเว็บไซด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น