วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การแก้ไขปัญหาขยะรกโลกของญี่ปุ่น

       


Kansai Airport was opened in 1994, (13ปี) เป็นสนามบินที่ลงทุนถมทะเลเพื่อก่อสร้างสนามบินโดยตรงแล้วสร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่ ต้องขึ้นรถรางไฟฟ้าต่อไปลงที่อาคารขาออก สนามบินนานาชาติคันไซ (Kansai International Airport หรือ KIX) ซึ่งต้องเรียกว่าเป็นเกาะสนามบิน เพราะมันคือสนามบินที่ตั้งอยู่บนเกาะ แต่เป็นเกาะจำลองที่สร้างขึ้นจากขยะที่ถูกอัดบีบจนแน่นแล้วนำมาถมทะเลจนกลายเป็นเกาะ สนามบินคันไซสร้างขึ้นทางใต้ของอ่าวโอซาก้า เริ่มเปิดใช้เมื่อ 4 กันยายน ปีค.ศ. 1994 โดยที่ขอบของสนามบินที่กั้นน้ำทะเลนั้นทำจากหินและคอนกรีต แต่ตัวเกาะที่สร้างเป็นภูเขาสามลูกนั้นเธอคงจะเคยได้ยินมาบ้างนะจ๊ะ ว่าสร้างมาจากขยะในบ่อฝังกลบ(landfills) จำนวนถึง 21 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้คนงานถึง 10,000 คน กินเวลา 10 ล้านชั่วโมงการทำงาน และใช้เวลาสร้างกว่าจะแล้วเสร็จถึง 3 ปี (สร้างในปี 1987 ถึงปี 1990) ใช้เรือถึง 80 ลำ เพื่อที่จะถมพื้นของสนามบินหนา 30 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลรวมถึงการประกอบผนังกั้นน้ำทะเลให้สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังได้สร้างสะพานระยะทาง 3 กม. ด้วยสนนราคาค่าก่อสร้างอีก (แค่) หนึ่งพันล้านดอลล่าสหรัฐเชื่อมระหว่างสนามบินกับตัวเกาะหลักของญี่ปุ่นที่เมือง Rinku ด้วยนะ ที่มาของการริเริ่มไอเดียประหลาดนี้ ก็เนื่องจากว่า ตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา เศรษฐกิจไปกระจุกอยู่ที่โตเกียวที่เดียว นักวางผังก็เลยมีโครงการที่จะสร้างสนามบินแถบบริเวณใกล้ๆ โอซาก้าและโกเบ แต่เนื่องจากว่าสนามบินโตเกียวใหม่หรือสนามบินนาริตะที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดชิบะนั้นได้เกิดปัญหามลภาวะทางเสียงและถูกร้องเรียนมามาก ดังนั้นการสร้างสนามบินแห่งใหม่จึงต้องคำนึงถึงปัญหานี้เป็นหลัก การจะขยายสนามบินจากสนามบินภายในประเทศคือ Osaka airport (Itami airport) ซึ่งล้อมรอบไปด้วยชุมชนที่อยู่อาศัยและตึกใหญ่น้อยของเขต Itami และ Toyonaka นั้นเป็นไปได้ยาก จึงได้มีโครงการจะสร้างแถบนอกชายฝั่งจ้ะ เดิมทีเดียวนี่เขาจะขอสร้างที่บริเวณใกล้ๆ เมืองโกเบจ้ะ แต่ทางการของโกเบปฏิเสธ ก็เลยต้องย้ายลงมาทางใต้หน่อยคือบริเวณอ่าวโอซาก้า ซึ่งแถวๆ นั้นมีแต่พวกชาวประมงท้องถิ่นอาศัยอยู่ แต่ก็ใช่ว่าจะขอสร้างได้ง่ายดายนะ ชาวประมงก็รวมตัวประท้วงต่อต้านการก่อสร้างเหมือนกัน แต่ก็เหมือนที่มีคำพูดแบบไทยๆ นะจ๊ะ ว่า "เงินเนี่ยมันทำได้ทั้งง้างปากและปิดปากคนได้" หลักการนี้มันใช้ได้นานาชาติจริงๆ นะ เรื่องราวก็เลยเงียบลงได้ด้วยค่าชดเชยก้อนโตจ้ะ เธอคงจะสงสัยล่ะสิว่า มันจะแข็งแรงทนทานขนาดไหน ฉันเองก็ยังกลัวๆ เหมือนกันว่าถ้าเกิดเครื่องบินร่อนลงสนามบินแล้วมันค่อยๆ จมลงทะเลเนี่ยฉันจะทำยังไง ซึ่งก็ปรากฏว่าในช่วงระหว่างทดสอบการใช้งานหลังจากที่สร้างเสร็จได้แค่ปีเดียวจ้ะ คือในปี 1991 สนามบินได้ค่อยๆ ทรุดตัวจมลงไปถึง 8 เมตร ซึ่งถือว่าเกินจากที่คาดไว้เยอะจนถึงกับต้องสอดแผ่นเหล็กหนาเข้าไปที่ฐานเพื่อรองรับสนามบินอีกชั้นหนึ่งจ้ะ ทำให้งบบานปลายไปอีกมากโขเลยล่ะ ค่าใช้จ่ายรวมๆ แล้วประมาณ 15 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐได้ ซึ่งเกินงบไปถึง 40%เลยล่ะ
แต่การเสริมแผ่นเหล็กรอบนี้ถือว่าได้สร้างความแข็งแกร่งให้กับสนามบินได้ยิ่งยวดทีเดียว เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ Kobe ในปี 1995 ซึ่งมีศูนย์กลางห่างจากตัวเกาะญี่ปุ่นเพียงแค่ 20 กม. มีผู้เสียชีวิตถึง 6,433 คน และได้ทำความเสียหายให้กับเมืองโกเบจนถึงกับต้องสร้างเมืองกันใหม่เลยทีเดียว แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้กลับไม่กระทบกระเทือนกับสนามบินนี้เลยล่ะ นอกจากนี้ในปี 1998 สนามบินก็ยังต้องเจอกับการทดสอบความแข็งแรงอีกครั้งจากใต้ฝุ่นความเร็ว 200 กม./ชม. แต่ก็ไม่เป็นอะไรอีกเช่นกัน ยอดเยี่ยมไหมล่ะ เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจเลยล่ะว่า สนามบินนานาชาติคันไซนี้ ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมหนึ่งในสิบทางด้านโครงสร้างของ "Civil Engineering Monument of the Millennium" ในปี 2001 ที่จัดโดย the American Society of Civil Engineers ผ่านการทดสอบมาอย่างหนักหน่วงอย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้นก็มั่นใจได้เลยล่ะจ้ะ ว่าจะแข็งแรงทนทานแน่นอน ต่อให้หุ่นล่ำๆ อย่างพวกเราไปลงกระโดดโลดเต้นซักหลายร้อยคนก็คงไม่กระทบกระเทือนสนามบินนี้แน่นอนจ้ะ



เนื้อหาจาก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น